การสร้าง "พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน" ตามรอย "พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม"
เป็นความสำเร็จของอารยธรรมภูมิปัญญาไทยสากล
เมื่อ 116 ปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก ภาษาปาฬิ (ภาษาบาลี) เป็นฉบับพิมพ์ชุดหนังสือเป็นครั้งแรก ซึ่งปัจจุบันอาจดูว่าการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในประวัติศาสตร์ ในช่วงปี 2436 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เพราะขณะนั้นประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตก ส่วนประเทศไทยก็กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ร้ายแ รงของการล่าอาณานิคมจากตะวันตก
การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว ได้พระราชทานพระไตรปิฎก จปร. ทั่วประเทศ ในยุคที่ชาติมีวิกฤตทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างขวัญของความสามัคคีร่วมใจกันในทางธัมมะ อันเป็นยุทธศาสตร์และจิตวิทยาในการรักษาเอกราชของประเทศไทย ซึ่งต่อมาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับตะวันตกก็ยุติด้วยการเจรจาในปี 2436 ซึ่งเป็นปีที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสำเร็จหลังจากที่ดำเนินการจัดสร้างมานานกว่า 6 ปี
การสร้างพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม เป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาไทยที่ก้าวล้ำนำยุค โดยการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ของตะวันตก มาพิมพ์คลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ ได้แก่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับอักษรสยามชุดนี้ เป็นการเปลี่ยนการบันทึกคำสอนในใบลานของพระพุทธศาสนา จำนวนกว่า 50,000 แผ่น มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือถึง 15,000 หน้ากระดาษ รวม 39 เล่ม ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร ์ในรอบ 2 พันปี
ที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้โปรดให้ส่งพระไตรปิฎกชุดนี้ไปพระราชทานแก่ 260 สถาบันในนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 30 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน
ปัจจัยการสร้างเครือข่ายใน นานาชาตินี้ มีส่วนสำคัญให้นานาชาติช่วยเหลือประเทศไทย ให้พ้นจากการกดดันของมหาอำนาจในอดีต และในปัจจุบันพระไตรปิฎก จปร. ของชาวไทยก็ยังเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติล้ำค ่าในสถาบันภูมิปัญญาทั่วโลก
ปัจจัยการสร้างเครือข่ายใน นานาชาตินี้ มีส่วนสำคัญให้นานาชาติช่วยเหลือประเทศไทย ให้พ้นจากการกดดันของมหาอำนาจในอดีต และในปัจจุบันพระไตรปิฎก จปร. ของชาวไทยก็ยังเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติล้ำค ่าในสถาบันภูมิปัญญาทั่วโลก
คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานจัดงานฯ กล่าวว่า มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯเพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ร่วมกับกระทรวงกลาโหม จัดพิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากลและถวายถวายแด่ สมเด็จพระสังฆราช ในปี 2552 ซึ่งปีนี้เป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลชุ ด 40 เล่ม ซึ่งจัดพิมพ์ตามรอยพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5
ที่ผ่านมาโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้เวลาในการดำเนินงานเป็นเวลาถึง 10 ปี และขณะนี้ได้มีการพระราชทานพระไตรปิฏกสากล เป็นพระธัมมทานจากประเทศไทยไปแล้วกว่า 38 สถาบัน ใน 18 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้การถวายพระไตรปิฎกสากล แด่สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงมีความบริสุทธิ์ในศีลาจาริยวัตรและพ ระธัมมวินัย ในวาระที่ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี
ที่ผ่านมาโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้เวลาในการดำเนินงานเป็นเวลาถึง 10 ปี และขณะนี้ได้มีการพระราชทานพระไตรปิฏกสากล เป็นพระธัมมทานจากประเทศไทยไปแล้วกว่า 38 สถาบัน ใน 18 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้การถวายพระไตรปิฎกสากล แด่สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงมีความบริสุทธิ์ในศีลาจาริยวัตรและพ ระธัมมวินัย ในวาระที่ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี
การบำเพ็ญทานกิริยาสร้างพระไตรปิฎกถือเป็นกุศลอันเลิศ และเป็นการสืบทอดพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาบันพระพุทธศาสนา
ด้านพลเอกอภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า กระทรวงกลาโหม ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักที่จัดพิมพ์พระไตร ปิฎก จปร. อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงส่งในการสร้างพระไตร ปิฎก จปร. ชุดประวัติศาสตร์ของโลกในอดีต ซึ่งปัจจุบันเป็นฉบับที่เป็นรากฐานของการจ ัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงถือเป็นภารกิจหลัก ในการเข้าร่วมสมโภชพระไตรปิฎก อักษรโรมันชุดสมบูรณ์ที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ใ นประเทศไทย
พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชในปี 2552 พร้อมทั้งเป็นการถวายเพื่อเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นประธานในการสมโภชและถวายพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ตามรอยพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
Digital Archives from the M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society's World Tipiṭaka Project in Roman Script, 1999-2009.
World Tipiṭaka Project :
Tipitakaquotation
www.tipitakahall.net
www.tipitakahall.info
www.dhammasociety.org
Archives 1999-present :
World Tipitaka Council B.E.2500 (1956)
World Tipiṭaka in Roman Script
Tipitaka Studies Reference 2007
Royal Patron of Tipitaka
พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชในปี 2552 พร้อมทั้งเป็นการถวายเพื่อเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นประธานในการสมโภชและถวายพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ตามรอยพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
Digital Archives from the M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society's World Tipiṭaka Project in Roman Script, 1999-2009.
World Tipiṭaka Project :
Tipitakaquotation
www.tipitakahall.net
www.tipitakahall.info
www.dhammasociety.org
Archives 1999-present :
World Tipitaka Council B.E.2500 (1956)
World Tipiṭaka in Roman Script
Tipitaka Studies Reference 2007
Royal Patron of Tipitaka