Friday, December 21, 2007

The Celebration of Tipiṭaka and Royal Presentation Ceremony

Presided over by
Her Royal Highness Princess Bajrakittiyabha





Tipiṭaka Documentary 2007
First streaming online : January 31, 2008




Tipitaka Presentation to Supreme Court of Thailand 2007Tipitaka Presentation to Supreme Court of Thailand 2007
World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007Tipitaka Presentation to Supreme Court of Thailand 2007


39 Patrons, including representative members of Royal Family, wives of the Supreme Court Judges, university professors, benefactors and leaders from business community, have been specially invited to become Tipiṭaka Bearers, whose duty is to hand-carry the historic edition of King of Siam Tipiṭaka into the Royal Chapel of the Emerald Buddha.

Published in 1893, the 39-volume King of Siam Tipiṭaka was the world's first printed set. This historic edition is one of the most important reference editions from which the newly published 40-volume World Tipiṭaka in Roman script is based.


December 11, 2007, the Grand Palace, Bangkok at 16.45 hrs. His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn has given a royal permission to his daughter, Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha to preside over the Celebration of Tipiṭaka and Presentation Ceremony of the 40-volume World Tipiṭaka in Roman Script to President of the Supreme Court (Judge Virat Limvichai) which is to be preserved at the Supreme Court of Thailand. This speciall occaion is organised in honour of His Majesty the King's 80th Birthday.

In 2007, Her Royal Highness Princess Galayani Vadhana, the Royal Matriarch of Thailand, who is the Honorary President of Tipiṭaka Presentation Worldwide, has graciously instructed a special edition to be printed and presented to the Supreme Court of Thailand on this auspicious occasion this year

After arrival at Sala Saha Thai Samakom Hall, Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha is presided over an official group photograph with President and Justices of the Supreme Court of Thailand. Then the Princess commences the Tipiṭaka procession. 40 Tipiṭaka Patrons join the Princess to hand-carry 40 volumes Tipiṭaka into the Royal Chapel of the Emerald Buddha. The Roman-script edition is placed on the glass table next to the Siam-script edition which was printed by King Chulalongkorn Chulachomklao of Siam over a century ago.


World Tipitaka Celebration 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007
World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007
World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007


In the presence of Her Royal Highness, 40 patrons of the World Tipiṭaka are introduced to the Princess Bajrakittiyabha, His Majesty the King's eldest grand-daughter. Each patron receives one volume of Tipiṭaka which is to be hand-carried into the Royal Chapel of the Emerald Buddha where it will be celebrated before it is presented to the Supreme Court of Thailand as a Royal Gift of Dhamma.

The celebration of the World Tipiṭaka is organised in the Grand Palace in supreme homage of Dhamma on occasion the King's 80th Birthday.


Tipitaka Presentation to Supreme Court of Thailand 2007

World Tipitaka Patron


World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007World Tipitaka at Royal Chapel of the Emerald Buddha 2007


The Princess then lights candles and joss sticks in homage of the Triple Gems, observes five precepts and then offers robes which were given by the Royal Matriarch to ten Buddhist monks. The Proclamation of Tipiṭaka Celebration is then read. At the end of the proclamation, court officers begin candle-light circumambulation ceremony in celebration of the Tipiṭaka.

After the candle-light circumambulation, the Princess reads a Royal Message for the Tipiṭaka Presentation on the occasion of the King's Birthday. The band plays the Royal Anthem in honour of the King. The Princess then hands over the Tipiṭaka Volume 1 Vinayapiṭaka (the Book of Discipline) to the President of the Supreme Court who consequently enshrines the Tipiṭaka on a special pedestal in front of the Emerald Buddha.


Royal Tipitaka Pilgrimage 2005 Royal Tipitaka Pilgrimage 2005 World Tipitaka Inauguration 2005

The World Tipiṭaka Edition in Roman Script –the world's first complete 1957 International Council Edition– was published by Dhmma Society in Thailand in 2005. The inaugural 40-volume set was presented as a Royal Gift of Dhamma to the President of Democratic Socialist Republic of Sri Lanka during a historic 24-hour pilgrimage to Colombo by Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana.

The Pāḷi Tipiṭaka is the Holy Teaching of the Buddha. The printing and propagating of the sacred text for prosperity is thus considered an act of utmost meritorious importance.

In 2007, Princess Galyani Vadhana initiated the Presentation of Tipiṭaka as a merit-making on the occasion of the King's 80th Birthday.

The Pāḷi Tipiṭaka --the 40-volume World Edition in Roman script-- was presented this year as a Royal Gift of Dhamma, for the first time to the Supreme Court, the highest representative judiciary institution in the country, which according to the Constitution, exercises the judicial power for the welfare of the nation on behalf of the Buddhist Sovereign Monarch of Thailand.


Tipitaka at International Court of Justice 2007 Tipitaka at the Peace Palace 2007 Two Presidents met for Wisdom & Peace

Earlier this year, in honour of the King, Princess Galyani Vadhana graciously presented a special 40-volume set of the World Tipiṭaka and its 40-volume Tipiṭaka Studies Reference to the International Court of Justice, the Hague, Kingdom of Netherlands. The Royal Gift of Tipiṭaka was handed over to the President of the World Court by the President of the Supreme Court of Thailand at the Peace Palace in Netherlands on November 12, 2007.

For more information : www.worldtipitaka.org / www.dhammasociety.org





Thursday, December 6, 2007

คำกล่าวของ Dr. Olle Qvarnström





คำกล่าวของ Dr. Olle Qvarnström
ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ศาสนาและศาสตราภิชานแห่งภารตศาสนวิทยา
มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ ประเทศสวีเดน

ผู้รับเชิญกิตติมศักดิ์
นิทรรศการเทคโนโลยีพระไตรปิฎก ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีภาพ

จัดโดย
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 Lund University, Sweden during King of Siam fact finding mission, 2003.  Prof of Indic Religion, Lund University, Sweden. Medieval Church in Lund, Sweden Lund University Seal
มหาวิทยาลัยลุนด์ ราชอาณาจักรสวีเดน



ข้าพเจ้าชื่อ Olle Qvarnström เป็นศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ศาสนา ณ มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ (University of Lund)

มหาวิทยาลัยลุนด์ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศสวีเดน – อันเป็นสถานที่เชื่อมทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และทางด้านวิชาการกับศูนย์กลางการเรียนรู้ของทวีปยุโรปตอนใต้ แม้ว่ามหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ จะได้ก่อกำเนิดอย่างเป็นทางการในศตวรรษที่ 17 แต่มีประวัติศาสตร์ที่ย้อนไปถึงสมัยประวัติศาสตร์ยุคกลาง



Commencement day at Lund University, Sweden Lund University Vice-chancellor and leading members at Lund community Classes at Lund University Installation of new professor at Lund University


มีนักศึกษา 35,000 คน เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ในคณะต่างๆ รวมทั้งคณะมานุษยวิทยาและเทววิทยา; สถาบันเทววิทยาและประวัติศาสตร์ศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของคณะดังกล่าวซึ่งรวม ทั้งภาควิชาประวัติศาสตร์ศาสนาและตำแหน่งศาสตราภิชานแห่งภารตศาสนาวิทยา (Chair of Indic Religions) ด้วย



Lund University, Sweden during King of Siam fact finding mission, 2003.  Lund University, Sweden during King of Siam fact finding mission, 2003.
หอสมุดมหาวิทยาลัยลุนด์



แม้ว่าการศึกษาอย่างเป็นทางการทางภารตวิทยา ศาสนา และภาษาต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 19, แต่หอสมุดของเรามีคลังหนังสือทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 ทั้งๆ ที่ประเทศสวีเดนไม่เคยเป็นประเทศทรงอำนาจในการล่าเมืองขึ้นหรือศาสนทูตในทวีปเอเชีย

ดังนั้น ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดนจึงได้รับผลจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจากการรายงานของนักบวชเจสุอิต นักท่องเที่ยว ฯลฯ และต่อมาผ่านการศึกษาทางตำราด้านวิชาการต่างๆ

หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลง ประชากรชาวสวีเดนได้มีโอกาสรับวิธีปฏิบัติ ตามแนวประเพณีพระพุทธศาสนาจากผู้อพยพซึ่งได้เดินทางมาจากดินแดนพระพุทธศาสนาจากประเทศต่างๆ



Theravada scripture in Lanna script in Northern Thailand  Pali Tipitaka in palm leaves in Thailand
พระไตรปิฎกบาฬีในพระพุทธศาสนาเถรวาท



การปฏิบัติสมาธิวิธีต่างๆทางพระพุทธศาสนาได้มีการปฏิบัติโดยชาวท้องถิ่นสวีเดน รวมทั้งชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือด้วย

การศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นวิถีทางที่จะได้รับความเข้าใจที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์แห่งเอเชียทั้งอดีตและปัจจุบัน สิ่งนี้เป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เกี่ยวเนื่องกับความเข้าใจในอารยธรรมร่วมสมัยของตะวันตก

ด้วยความตระหนักถึงการศึกษาพระพุทธศาสนา ที่มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์จึงมีพันธกิจต่อการ ศึกษาแนวความคิดต่างๆ ทางด้านเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันของเราได้ก่อตั้งตำแหน่งศาสตราภิชานแห่งภารตศาสนาวิทยาขึ้น เพื่อศึกษาอารยธรรมอินเดียโบราณ รวมทั้งพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นตำแหน่งทางวิชาการแห่งเดียวในสแกนดิเนเวีย และนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งศาสตราภิชานแห่งภารตศาสนวิทยานี้

นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่วิชาพุทธศาสตรศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ ได้เน้นในด้านลัทธิมหายานต่างๆ ได้แก่ ลัทธิเซน ซึ่งมีอิทธิพลแก่วัฒนธรรมของประชาชนตะวันตก และวิชาการต่างๆ เช่น จิตวิทยา และจิตวิทยาบำบัด พุทธศาสนานิกายธิเบตเป็นลัทธิมหายานซึ่งดึงดูดความสนใจมาก เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากกิจกรรมของศาสนทูตและผู้อพยพ ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศทิเบต

เพื่อปรับความสมดุลในด้านนี้ การศึกษาในด้านภารตวิทยาจึงมีพันธกิจ ที่จะนำเสนอของการศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาทและบาฬี อันเป็นการเสริมสร้างมรดกอารยธรรมของปรมาจารย์ในอดีต



King of Siam Tipitaka with the Kingdom Coat of Arms in gold embossment King Chulalongkorn Chulachomklao of Siam
King of Siam Tipitaka at Lund University, Sweden 2003 Dhamma Society inspecting King of Siam Tipitaka at Lund University
พระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช รศ. 112
ภาษาบาฬี อักษรสยาม ชุด 39 เล่ม ณ มหาวิทยาลัยลุนด์



บัดนี้ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะประกาศว่าความพยายามที่จะนำเสนอการศึกษา พระบาฬี (Pāḷi) และพระไตรปิฎกศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ อาจจะประสบความสำเร็จอย่างจริงจังในเร็วๆนี้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เราได้รับเกียรติต้อนรับ นายกกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์แห่งประเทศไทย พร้อมกับอาจารย์มหาวิทยาลัยเปราเดนิยะจากประเทศศรีลังกา

จุดประสงค์ของการเยือนมีสองประการ คือ ประการแรก ทั้งสองท่านต้องการรู้ว่าพระไตรปิฎกบาฬี ฉบับจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) อักษรสยาม ชุด 39 เล่ม ซึ่งพิมพ์ใน ค.ศ. 1893 ยังเก็บรักษามีสภาพดีหรือไม่ ในหอสมุดของมหาวิทยาลัยของเรา, ประการที่สอง ทั้งสองท่านมาเพื่อประกาศข่าวการจัดพิมพ์ตามรอยพระไตรปิฎกอักษรสยาม ซึ่งเป็นการพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬี อักษรโรมัน เป็นครั้งแรก โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ท่ามกลางความมืดมนและเปลี่ยวเปล่าในฤดูหนาวของประเทศสวีเดน อาจารย์และนักศึกษาได้รับข่าวที่อบอุ่นของมรดกอันล้ำค่าที่ได้มีการเก็บรักษาอยู่อย่างดีนับเป็นเวลากว่าศตวรรษ ณ หอสมุดของมหาวิทยาลัยนี่เอง

ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งสืบเนื่องจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมพระเจ้าออสก้าที่สองแห่งสวีเดน เพื่อเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างราชอาณาจักรทั้งสอง

หนึ่งศตวรรษได้ผ่านไปภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระไตรปิฎก พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานอย่างสถาพรในสังคมสวีเดน



World Tipitaka Edition in Roman script published by Dhamma Society 2005  World Tipitaka Edition in Roman script published by Dhamma Society 2005
พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548



Archive of 1956-57 World Tipitaka Council in yangon  Archive of 1956-57 World Tipitaka Council in yangon  Archive of 1956-57 World Tipitaka Council in yangon  Archive of 1956-57 World Tipitaka Council in yangon  Archive of 1956-57 World Tipitaka Council in yangon  Archive of 1956-57 World Tipitaka Council in yangon
การประชุมสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500
ณ มหาปาสาณคูหา นครย่างกุ้ง



พระไตรปิฎกบาฬี ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 พิมพ์อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ซึ่งจัดพิมพ์โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ เป็นผลแห่งความวิริยะอุตสาหะของพระสงฆ์ผู้ทรงพระบาฬีจากประเทศเถรวาท ในเอเชีย ได้แก่ ศรีลังกา ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา ต้นฉบับดังกล่าวได้มีการถอดเป็นอักษรโรมันโดยผู้เชี่ยวชาญ

เพื่ออนุรักษ์พระไตรปิฎกบาฬีสำหรับการค้นคว้าและศึกษา กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย โดยความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้เลือกที่จะเน้นคุณค่าของระบบมุขปาฐะของเสียงของภาษาบาฬี การจัดพิมพ์ครั้งนี้จึงได้นำวิธีการใช้เครื่องหมายพิเศษ (diacritics) ซึ่งช่วยในการอ่านสังวัธยายและออกเสียงภาษาบาฬี



 20-Volume Tipitaka Studies Reference by Dhamma Society 2006  20-Volume Tipitaka Studies Reference by Dhamma Society 2006
พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง พ.ศ.2549 ภาษาบาฬี อักษรโรมัน ชุด 20 เล่ม



การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬี ชุด 40 เล่ม เป็นอักษรโรมัน และหนังสือพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงอีก 20 เล่ม ซึ่งรวม เชิงอรรถคำต่าง ดัชนี และการอ้างอิงต่างๆ – จึงเป็นผลสำเร็จทางด้านวิชาการที่ยิ่งใหญ่

ในนามของมหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณต่อกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมถ์ฯ สำหรับผลงานอันทรงคุณประโยชน์อันหาค่ามิได้ที่มีต่อวัฒนธรรมและศาสนาของโลก

ข้าพเจ้าได้รับทราบว่า มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์จะมีโอกาสได้รับพระอนุญาตในการขอพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน โดยตรงจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สำหรับโอกาสพิเศษที่ยิ่งใหญ่นี้ พวกเราทั้งหลายรู้สึกปีติและขอขอบพระคุณยิ่ง และขอกล่าวว่า หากการขอพระราชทานพระไตรปิฎกดังกล่าวประสบความสำเร็จแล้ว เราทั้งหลายมีความตั้งใจที่จะดำเนินการต่อไป มิใช่ให้การพระราชทานดังกล่าวเป็นเพียงเพื่อเก็บรักษาพระคัมภีร์ฉบับนี้ไว้ในหอสมุดเท่านั้น เรามีความประสงค์ที่จะส่งเสริมการศึกษาพระไตรปิฎกบาฬีต่อไปในวงวิชาการในระดับโลก



Book Hall, Uppsala University Library 2005
Two editions of the Royal Gifts from Thailand photographed in 2005
ในปี พ.ศ. 2548 พระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน
ตามรอยพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม



การพระราชทานพระไตรปิฎกอักษรโรมัน ชุดพิมพ์ใหม่ฉบับนี้แก่มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ จักเป็นนิมิตหมายมากกว่าเพียงการมอบของขวัญแก่มหาวิทยาลัย แต่ยิ่งไปกว่านั้น การพระราชทานพระไตรปิฎกครั้งนี้เป็นนิมิตหมายของการมอบสมบัติอันล้ำค่าโดยประชาชนชาวไทยแก่ประชาชนชาวสวีเดน

เหตุดังกล่าว ได้ก่อกำเนิดมาช้านานแล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเราได้รับรู้แล้วทั้งในยามสุขและทุกข์

ไม่นานมานี้ ภัยพิบัติจากสึนามิ ได้นำชาติเราทั้งสองให้แน่นแฟ้นกันในโศกนาฏกรรมที่ใหญ่หลวง แม้พระเจ้าแผ่นดินแห่งสวีเดน ก็ได้ทรงเน้นตลอดมาถึงความรู้สึกขอบคุณต่อความเมตตาอย่างใหญ่หลวงของประชาชนชาวไทยที่มีต่อผู้ประสบภัยชาวสวีเดน

การพระราชทานพระไตรปิฎกบาฬีแก่มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ดังกล่าวจึงมีมิติที่สำคัญหลายประการ อาทิ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และศาสนา ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ของการร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรของทั้งสองประเทศ



Royal Tipitaka Pilgrimage by HRH Princess Galyani from Thailand to Sri Lanka, 2005 Inaugural Tipitaka Edition Presented to the Constitutional Court of Thailand, 2005 Inaugural Tipitaka Edition to the Western World presented to Carolina Rediviva, Sweden, 2005
พระไตรปิฎกบาฬี ชุดพิเศษปฐมฤกษ์ 3 ชุด
ประดิษฐาน ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ประเทศศรีลังกา
ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมหาวิทยาลัยอุปซาลา นครอุปซาลา ราชอาณาจักรสวีเดน



ในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) พระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ฉบับปฐมฤกษ์ชุดพิเศษ พ.ศ. 2548 ได้มีการพระราชทานแล้วจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อประดิษฐาน ณ ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา, ณ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, และ ณ หอสมุดมหาวิทยาลัยอุปซาลา คาโรลีนา เรดิวีว่า ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ฉบับมาตรฐาน ได้พระราชทานประดิษฐาน ณ รัฐสภาแห่งประเทศศรีลังกา และย่อมเป็นความปรารถนาที่จะได้รับเกียรติในการรับพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันฉบับนี้และประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัยแห่งลุนด์ ซึ่งเป็นสถาบันสำคัญทางการศึกษาที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป และมีการพระราชทานต่อไปแก่สถาบันต่างๆ นานาประเทศทั่วโลก

ขอขอบคุณ.