Monday, November 30, 2009

World Tipitaka Celebration


การสร้าง "พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน" ตามรอย "พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม"
เป็นความสำเร็จของอารยธรรมภูมิปัญญาไทยสากล






เมื่อ 116 ปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก ภาษาปาฬิ (ภาษาบาลี) เป็นฉบับพิมพ์ชุดหนังสือเป็นครั้งแรก ซึ่งปัจจุบันอาจดูว่าการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในประวัติศาสตร์ ในช่วงปี 2436 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เพราะขณะนั้นประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตก ส่วนประเทศไทยก็กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ร้ายแ รงของการล่าอาณานิคมจากตะวันตก







การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว ได้พระราชทานพระไตรปิฎก จปร. ทั่วประเทศ ในยุคที่ชาติมีวิกฤตทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างขวัญของความสามัคคีร่วมใจกันในทางธัมมะ อันเป็นยุทธศาสตร์และจิตวิทยาในการรักษาเอกราชของประเทศไทย ซึ่งต่อมาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับตะวันตกก็ยุติด้วยการเจรจาในปี 2436 ซึ่งเป็นปีที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสำเร็จหลังจากที่ดำเนินการจัดสร้างมานานกว่า 6 ปี





การสร้างพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม เป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาไทยที่ก้าวล้ำนำยุค โดยการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ของตะวันตก มาพิมพ์คลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ ได้แก่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า








การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับอักษรสยามชุดนี้ เป็นการเปลี่ยนการบันทึกคำสอนในใบลานของพระพุทธศาสนา จำนวนกว่า 50,000 แผ่น มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือถึง 15,000 หน้ากระดาษ รวม 39 เล่ม ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร ์ในรอบ 2 พันปี





ที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้โปรดให้ส่งพระไตรปิฎกชุดนี้ไปพระราชทานแก่ 260 สถาบันในนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 30 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน

ปัจจัยการสร้างเครือข่ายใน นานาชาตินี้ มีส่วนสำคัญให้นานาชาติช่วยเหลือประเทศไทย ให้พ้นจากการกดดันของมหาอำนาจในอดีต และในปัจจุบันพระไตรปิฎก จปร. ของชาวไทยก็ยังเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติล้ำค ่าในสถาบันภูมิปัญญาทั่วโลก







คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานจัดงานฯ กล่าวว่า มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯเพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ร่วมกับกระทรวงกลาโหม จัดพิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากลและถวายถวายแด่ สมเด็จพระสังฆราช ในปี 2552 ซึ่งปีนี้เป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลชุ ด 40 เล่ม ซึ่งจัดพิมพ์ตามรอยพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5

ที่ผ่านมาโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้เวลาในการดำเนินงานเป็นเวลาถึง 10 ปี และขณะนี้ได้มีการพระราชทานพระไตรปิฏกสากล เป็นพระธัมมทานจากประเทศไทยไปแล้วกว่า 38 สถาบัน ใน 18 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้การถวายพระไตรปิฎกสากล แด่สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงมีความบริสุทธิ์ในศีลาจาริยวัตรและพ ระธัมมวินัย ในวาระที่ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี




การบำเพ็ญทานกิริยาสร้างพระไตรปิฎกถือเป็นกุศลอันเลิศ และเป็นการสืบทอดพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาบันพระพุทธศาสนา

ด้านพลเอกอภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า กระทรวงกลาโหม ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักที่จัดพิมพ์พระไตร ปิฎก จปร. อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงส่งในการสร้างพระไตร ปิฎก จปร. ชุดประวัติศาสตร์ของโลกในอดีต ซึ่งปัจจุบันเป็นฉบับที่เป็นรากฐานของการจ ัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงถือเป็นภารกิจหลัก ในการเข้าร่วมสมโภชพระไตรปิฎก อักษรโรมันชุดสมบูรณ์ที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ใ นประเทศไทย

พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชในปี 2552 พร้อมทั้งเป็นการถวายเพื่อเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ



ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นประธานในการสมโภชและถวายพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ตามรอยพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน

Digital Archives from the M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society's World Tipiṭaka Project in Roman Script, 1999-2009.

World Tipiṭaka Project :
Tipitakaquotation
www.tipitakahall.net
www.tipitakahall.info
www.dhammasociety.org

Archives 1999-present :
World Tipitaka Council B.E.2500 (1956)
World Tipiṭaka in Roman Script
Tipitaka Studies Reference 2007
Royal Patron of Tipitaka