Friday, November 20, 2009

เทคโนโลยีกับการศึกษาและความมั่นคงแห่งชาติ


ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รับมอบหนังสือพระไตรปิฎกฉบับย่อ
ซึ่งเป็นฉบับรวบรวมตัวอย่างชุด
39 เล่ม
จาก อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน
ผู้บรรยายพิเศษในการประชุมสภาอาจารย์

การบรรยายพิเศษ

เรื่อง
เทคโนโลยีการศึกษาและความมั่นคงแห่งชาติ :
กรณีศึกษา... อริยสัจจะ กับภาวะโลกร้อน


โดย


. ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวรต
ราชบัณฑิต และอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน
และ
กรรมการโครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล
ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

สื่อผสมสารนิเทศประกอบการบรรยาย เรื่อง พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม
สนับสนุนโดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ

การบรรยายพิเศษ

เรื่อง
เทคโนโลยีการศึกษาและความมั่นคงแห่งชาติ :
กรณีศึกษา... อริยสัจจะ กับภาวะโลกร้อน


โดย


. ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
ราชบัณฑิต และอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน

และ
กรรมการโครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล
ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

สื่อผสมสารนิเทศประกอบการบรรยาย เรื่อง พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม
สนับสนุนโดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ

เอกสาร เรื่อง "ธัมมบท 100 บท จากพระไตรปิฎก"
สนับสนุนโดย มูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

สรุป : ปัญหาโลกร้อนนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นมหันตภัยซึ่งจะเป็นปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะไม่สามารถมีการบริหารจัดการได้ถูกต้อง

ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมิอาจเป็นปัจจัยในการแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหด้วย นอกจากนี้ ความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติที่ลึกซึ้ง ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นพร้อมกัน

สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีควรมีวิสัยทัศน์ทางการศึกษาและแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้เกิดความมั่นคงแห่งชาติด้วย ?

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการพิมพ์ที่เหมาะสมในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีที่เป็นยุทธศาสตร์ เพราะสามารถสร้างจิตสำนึกชาติไทยในการกู้วิกฤติของยุคได้



กล่าวคือทรงใช้เทคโนโลยีพิมพ์พระไตรปิฎก อักษรสยาม ซึ่งทำให้เกิดความสำนึกของชาติเชื่อมโยงกับในยุควิกฤติ และในขณะเดียวกัน การพิมพ์เนื้อหาทางปัญญาในพระไตรปิฎก ก็แสดงถึงอารยธรรมสูงสุดของมนุษยชาติที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งส่งเสริมปัจจัยด้านการเมืองและความมั่นคงของชาติด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นชุดหนังสือ ชุดแรกของโลก และได้พระราชทานไปทั่วกรุงสยามเป็นจำนวน 500 ชุด และต่อมาได้พระราชทานอีก 260 ชุด ไปยังสถาบันต่างๆ ระดับนานาชาติ ใน 30 ประเทศทั่วโลก

ยุค ร.. 112 ในสมัย รัชกาลที่ 5 นี้ ถือเป็นยุคล่าอาณานิคมและเป็นช่วงที่กรุงสยามเกิดวิกฤตการณ์อันร้ายแรงกับมหาอำนาจตะวันตก ดังนั้นการพิมพ์พระไตรปิฎกได้สำเร็จ จึงถือเป็นความสำคัญทางประวัติอย่างยิ่ง

นอกจากคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่ของการพิมพ์พระไตรปิฎกได้สำเร็จลุล่วงแล้ว ผลแห่งธัมมานุภาพของการพิมพ์พระไตรปิฎกในครั้งนั้นย่อมเป็นกุศลและปัจจัยแก่กรุงสยามด้วย เพราะการพระราชทานพระไตรปิฎกไปทั่วโลก เป็นการสร้างเครือข่ายมิตรภาพทางภูมิปัญญาระดับสูง

พระไตรปิฎก จปร. ที่นอรเวย์ :

ในปี พ..2552 ผู้แทนจากราชบัณฑิตยสถานได้ไปสำรวจพระไตรปิฎก จปร ที่กรุงออสโล ประเทศนอรเวย์ และได้พบว่ามหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล ได้ทำการเก็บรักษาพระไตรปิฎก จปร. ไว้เป็นอย่างดี

ชาวนอรเวย์ได้เห็นถึงความสำคัญของพระไตรปิฎกอักษรสยาม ว่าเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาและปัจจุบันกำลังดำเนินการแปลพระไตรปิฎกภาษาปาฬิให้เป็นภาษานอรเวย์อีกด้วย

ในการไปสำรวจพระไตรปิฎกในประเทศนอรเวย์นั้น ทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นถึงการสร้างเครือข่ายในนานาประเทศทั่วโลก และได้เกิดแนวความคิดต่างๆ ในพระไตรปิฎกในการวิเคราะห์ปัญหาและการหาหนทางแก้ไขปัญหา เช่น หลักอริยสัจจะ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว


การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่
5 นอกจากเป็นการอนุรักษ์แนวคิดในพระไตรปิฎกที่เป็นอมตะแล้ว ยังเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้อย่างมียุทธศาสตร์ในการสร้างเครือข่ายพระไตรปิฎกไทยกับประเทศมหาอำนาจทั่วโลก

เนื่องด้วย การบรรยายในครั้งนี้ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันบรมราชาภิเศกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นขอจบการบรรยายในวันนี้ ด้วยการอัญเชิญภาพพระไตรปิฎก จปร. ซึ่งได้ทำการอนุรักษ์ถ่ายภาพด้วยระบบดิจิทัล และจัดพิมพ์ในระบบสื่อผสมสำเร็จเป็นครั้งแรกแก่ที่ประชุมได้ชมและอนุโมทนาด้วย

พระไตรปิฎกฉบับนี้ จะได้ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 24 เดือนนี้ ในวารที่ทรงเจริญพระชนมายุ 96 ปี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้

มอบหนังสือแก่ รร.จปร. :

เพื่อเป็นเกียรติแก่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ขอมอบหนังสือพระไตรปิฎกฉบับย่อซึ่งเป็นฉบับรวบรวมตัวอย่างชุด 39 เล่ม ภาคภาษาไทยแก่ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำสมัยมาจัดพิมพ์ เป็นการตามรอยพระไตรปิฎก จปร. ในอดีต เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ในโอกาสนี้ได้มอบ ฉบับพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษ แก่ผู้อำนวยการส่วนการศึกษา รร. จปร. ด้วย



ผู้อำนวยการส่วนการศึกษา รร.จปร. รับมอบหนังสือพระไตรปิฎกฉบับย่อ
ซึ่งเป็นฉบับรวบรวมตัวอย่างชุด
39 เล่ม
จาก อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน
ผู้บรรยายพิเศษในการประชุมสภาอาจารย์


การจัดทำหนังสือนี้เป็นผลจากการร่วมมือระหว่างราชบัณฑิตยสถานกับโครงการพระ ไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสนาชนครินทร์ โดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าเพื่อเยาวชนฯ และคณาจารย์จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นอกจากนี้จะได้ขอมอบ หนังสือที่จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ธัมมบท 100 บท จากพระไตรปิฎกแก่ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย



เอกสารอ้างอิง :

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๔๖๗). กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ. (๒๕๕๑) ๔๗ หน้า

พระ ไตรปิฎกปาฬิ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล” ชุด 40 เล่ม กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ (๒๕๕๒)

เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต (๒๕๒๕). แหล่งน้ำกับปัญหามลพิษ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. ๒๙๐ หน้า.

IPCC (๒๐๐๗). Climate Change ๒๐๐๗ : The physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. IPCC.

Wikipedia (2008). Global warming. www.wikipedia.org

Utube (2009). Worldtipitaka Documentary

--------------------------------------------------------

โครงการพระไตรปิฎกสากล สนับสนุนโดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.. 2542-ปัจจุบัน