คำกล่าวของท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ
ผู้บริหารงานในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
เนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรโรมัน
พระราชทานไปประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล ประเทศนอรเวย์
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552
..........................................................................................................................................................
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพเจ้าเชิญพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรโรมัน 40 เล่ม ซึ่งทรงพระศรัทธาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์แก่ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ให้จัดสร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล ประเทศนอรเวย์ ในวาระนี้ ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
การพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับสากลนี้ ทรงพระอนุสรณ์คำนึงว่า อภิลักขิตมงคลการฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เป็นสมัยที่จะได้ทรงบำเพ็ญพระกุศลเป็นกรณีพิเศษ ครั้นความทราบฝ่าพระบาทว่า เมื่อพุทธศักราช 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัยกาของพระองค์ เคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยาม ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ชุดแรกของโลก มาพระราชทานแก่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล นอกจากนี้ ยังเป็นการเจริญรอยพระกุศลจริยาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้งกัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญไว้เมื่อพุทธศักราช 2548 ด้วยการเชิญพระไตรปิฎกสากลไปพระราชทานแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ ปรารภเหตุดังนี้ จึงทรงเห็นชอบตามคำกราบทูลของคณะข้าราชบริพารว่าสมควรจะได้พระราชทานพระไตรปิฎกฉบับอักษรโรมัน ไว้ประจำมหาวิทยาลัยเป็นการเพิ่มเติมจากฉบับอักษรสยาม เพื่อเจริญรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระอัยกาพระองค์นั้น ในอันที่จะยังประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาค้นคว้าทางด้านพระพุทธศาสนา ในหมู่ชนชาวตะวันตกผู้สนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาสำคัญแห่งโลกบูรพาทิศ ทั้งนี้ ทรงหวังพระหฤทัยว่าพระกุศลวิทยาทานที่ทรงบำเพ็ญ จะเป็นมูลฐานแห่งความเข้าใจอันดีและความผาสุกยั่งยืนของมวลมนุษยชาติสืบไป
ในพระนาม สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขอมอบพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรโรมัน พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งน้ำใจไมตรีระหว่างประชาชนชาวไทยกับชาวนอรเวย์ และเป็นเครื่องบำรุงความงอกงามไพบูลย์ทางสติปัญญาแก่มหาชนทั้งปวง สมดังพระเจตนาปรารภ ทุกประการ.
International Tipiṭaka Donation Message
by Thanpuying Putri Viravaidya
Private Secretary to Her Royal Highness Princess Bejaratana
At the presentation of the Pāḷi Tipiṭaka in Roman-script edition
to the University of Oslo,Norway
Monday, November 2, 2009
.........................................................................................................................................
On this auspicious occasion, I am delighted and profoundly honoured to present, on behalf of Her Royal Highness Princess Bejaratana of Thailand, a 40-volume Pāḷi Tipiṭaka in Roman-script edition published by the Dhamma Society under the Patronage of His Holiness the Supreme Patriarch of Thailand, funded by Her Royal Highness, to the University of Oslo, Norway.
The presentation of this International Romanised Pāḷi Tipiṭaka also marks the Celebrations of Her Royal Highness' 84th Birthday Anniversary, November 24, 2009.As a unique meritorious act for the occasion, Princess Bejaratana decides to follow the publication of the Tipiṭaka in Siam-script edition by her grandfather, His Majesty King Chulalongkorn, who in 1893 had the Pāḷi Tipiṭaka printed in book form for the first time in the world. One set of these historical printings was presented to and subsequently has been well-preserved here at the library of the University of Oslo. This presentation is to join a meritorious act of Her Royal Highness's late cousin, Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana, Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra, who presented a special inauguration 40-volume Pāḷi Tipiṭaka in Roman-script edition to leading institutions worldwide in 2005 as well. Once informed of that, Her Royal Highness approved her staff's recommendation to present the Pāḷi Tipiṭaka in Roman-script edition to the university to complement their Siam-script edition. With this act, Princess Bejaratana humbly follows her grandfather's dedication to promote studies of Buddhism, one of the most profound wisdom of the East, among scholars of the Western world. The Princess hopes that the merits of this International Tipiṭaka printing and presentation will lay for us the foundation for mutual understanding and sustainable harmony of humankind.
If should be noted that His Majesty King Rama VI, Princess Bejaratana's august Father, encouraged the use of the Roman-Script in accordance with the Pāḷi-sound nearly a century ago. Resulting in this 40-volume publication.
On behalf of Her Royal Highness Princess Bejaratana, I present the Pāḷi Tipiṭaka in Roman-script to the University of Oslo as a token of friendship between Thais and Nowegians. May the marits of the World Tipiṭaka printing and the persentation bring wisdom, prosperity and life-long happiness to the people of the world, now and always.