สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
และ
เจ้าชายอากิชิโนะโนะมิย่าแห่งประเทศญี่ปุ่น
ทรงเป็นประธานในงานปาฐกถา "เทคโนโลยีเผยแผ่พระไตรปิฎก"
ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
วันนี้ (๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงห้องประชุมคณะเกษตรศาสตร์และชีววิทยา มหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อทรงเป็นประธานร่วมกับเจ้าชายอะกิชิโน๊ะแห่งญี่ปุ่น ในการแสดงปาฐกถาพระไตรปิฎก (Tipiṭaka & Web-based Technology) มีผู้ร่วมเข้าฟังประมาณ ๒๐๐ คน
เมื่อศตวรรษที่แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระไตรปิฎกปาฬิ (ปาฬิ เขียนตามเสียงที่บันทึกในพระไตรปิฎก) อักษรสยาม ชุด 39 เล่ม แก่สถาบันต่างๆ ทั่วโลก และมีสถาบันในญี่ปุ่น 30 สถาบัน รวมทั้งมหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา เพราะเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ เป็นชุดหนังสือเป็นครั้งแรกของโลก พระไตรปิฎกอักษรสยามชุดประวัติศาสตร์นี้ได้มีการค้นพบเร็วๆนี้ว่าได้รับการรักษาเป็นอย่างดีในญี่ปุ่น
ในปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิเป็นอักษรโรมัน เพื่อเผยแผ่ตามรอยพระไตรปิฎกอักษรสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยได้ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดพิมพ์และสร้างเป็นฐานข้อมูลพระไตรปิฎก ฉบับสากลชุดสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงเป็นที่สนใจของชาวญี่ปุ่น
เมื่อศตวรรษที่แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระไตรปิฎกปาฬิ (ปาฬิ เขียนตามเสียงที่บันทึกในพระไตรปิฎก) อักษรสยาม ชุด 39 เล่ม แก่สถาบันต่างๆ ทั่วโลก และมีสถาบันในญี่ปุ่น 30 สถาบัน รวมทั้งมหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา เพราะเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ เป็นชุดหนังสือเป็นครั้งแรกของโลก พระไตรปิฎกอักษรสยามชุดประวัติศาสตร์นี้ได้มีการค้นพบเร็วๆนี้ว่าได้รับการรักษาเป็นอย่างดีในญี่ปุ่น
ในปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิเป็นอักษรโรมัน เพื่อเผยแผ่ตามรอยพระไตรปิฎกอักษรสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยได้ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดพิมพ์และสร้างเป็นฐานข้อมูลพระไตรปิฎก ฉบับสากลชุดสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงเป็นที่สนใจของชาวญี่ปุ่น
ปาฐกถาพระไตรปิฎกแสดงโดยศาสตราจารย์โตอิชิ เอนโดะ ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกปาฬิแห่งมหาวิทยาลัยกัลยาณี กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในนามสภาพระไตรปิฎกสากลของประเทศไทย ศรีลังกา และญี่ปุ่น ซึ่งได้กล่าวถึงเอกลักษณ์จากอดีตมาถึงปัจจุบันในการสืบทอดเสียงปาฬิ อันเป็นภาษาธัมม์เก่าแก่ในอารยธรรมอินเดีย และได้เดินทางผ่านจีนมาสู่ญี่ปุ่น ใช้เวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี
นอกจากนี้จะได้กล่าวถึงเทคโนโลยีต่างๆ ในอดีตถึงปัจจุบันที่มวลมนุษยชาติได้นำมาอนุรักษ์และสืบทอดพระไตรปิฎกปาฬิ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเปิดรหัสต้นฉบับ (Open-source Technology) ซึ่งชาวไทยได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในการจัดสร้างฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ที่ประชาชนทั่วโลกสามารถเชื่องโยงใช้ได้ เทคโนโลยีมาตรฐานเปิดเหล่านี้ทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากลสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการสร้างระบบบริการทางอิเล็คทรอนิกส์ที่ทันสมัย (Tipiṭaka Quotation WebService) ซึ่งทำให้นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ทั่วโลกมีส่วนร่วมศึกษาและพัฒนาได้
ในอดีตพระไตรปิฎกปาฬิ มักเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพียงอย่างเดียว แต่ปาฐกถาครั้งนี้เป็นการแสดงความสำคัญของพระไตรปิฎกสากลในมิติวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยโตเกียว ระหว่างการบรรยายจะได้มีการนำเสนอภาพจดหมายเหตุพระไตรปิฎกด้วยระบบสื่อผสมเทคโนโลยีด้วย
มหาวิทยาลัยโตเกียวเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อในระดับนานาชาติ การเสด็จทรงเป็นประธานการปาฐกถาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ และเจ้าชายอากิชิโน๊ะ ซึ่งทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองพระองค์ ณ มหาวิทยาลัยนี้ ย่อมเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ “ฐานปัญญา” (Knowledgebase) ในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะในทางด้านสหวิชาการ
ปาฐกถาเทคโนโลยีพระไตรปิฎกเป็นส่วนหนึ่งของการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลแก่มหาวิทยาลัยโตเกียว ตามรอยการพระราชทานพระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อศตวรรษที่แล้ว และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการโดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์