Saturday, April 19, 2008

The Reference to the World Tipiṭaka Edition


The Reference to the World Tipiṭaka Edition
and
How to make an electronic Tipiṭaka Quotation


Tipitaka Chanting for the late Princess Patron 2008



On the 100th anniversary day of the passing away of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana, the Royal Patron of the World Tipiṭaka, the Bangkok Metropolitan Administration and the Dhamma Society Fund jointly organised the Memorial Recitation of the World Tipiṭaka Edition on April 8, 2008, at the Bangkok Town Hall, which was presided over by Her Royal Highness Princess Soamsavali.

Three selected Pāḷi Tipiṭaka Quotations have been taken from the World Tipiṭaka Edition in Roman script, the only two special sets which were graciously presented by the late Princess Galyani Vadhana in 2005 and 2007 to the Honorable Justices of the Constitutional Court of the Kingdom of Thailand and the President of the Supreme Court of the Kingdom of Thailand respectively. These two Royal Gifts are now permanently preserved at the Office of the Constitution Court and the Supreme Court in Bangkok.

The standard Pāḷi Tipiṭaka from the World Tipiṭaka Edition in Roman script which will be recited can be accessed and printed electronically via the e-Tipiṭaka Quotation WebService as follows:



Tipitaka e-card & Tipitaka Quotation


The First Recitation :
The Confidence in the One-Thus-Gone” : Yassa saddhā tathāgate...
from the World Tipiṭaka Edition (printing version) Volume 14 No. 1022
www.tipitakastudies.net Tipiṭaka Quotation Number → 14S5:1953-1955



Tipitaka e-card & Tipitaka Quotation


The Second Recitation :
The Peaceful & Enduring City of Dhamma” : Sīlaṃ pākārakaṃ tattha...
from the World Tipiṭaka Edition (printing version) Volume 20 No. 535-538
www.tipitakastudies.net Tipiṭaka Quotation Number → 20Ap1:553-556



Tipitaka e-card & Tipitaka Quotation


The Third Recitation :
The Glory of the Buddha” : Divā tapati ādicco...
from the World Tipiṭaka Edition (printing version) Volume 18 No. 387
www.tipitakastudies.net Tipiṭaka Quotation Number → 18Dh:415


For more information, please go to www.dhammasociety.org

Friday, April 4, 2008

พิธีอ่านพระไตรปิฎกสากลถวายเป็นพระราชกุศล

กรุงเทพมหานครจัดพิธีอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล
ถวายเป็นพระราชกุศล 100 วัน เสด็จสู่สวรรคาลัย



World Tipitaka for the Supreme Court Thailand 2007

50815536_89436bbbe3_o.jpg



กรุงเทพมหานครจัด “พิธีอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวาระครบรอบ 100 วัน เสด็จสู่สวรรคาลัย ในวันที่ 8 เมษายน พ.. 2551 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

เนื่องด้วยกรุงเทพมหานครเป็นสถาบันหนึ่งที่ได้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลเผยแผ่ไปในนานาประเทศตามพระราชประสงค์สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงได้จัดพิธีอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบำเพ็ญกุศลถวายครบรอบ 100 วัน เสด็จสู่สววรคาลัย ในเดือนเมษายนศกนี้

พระไตรปิฎกเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลชุดสมบูรณ์สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ย่อมทำให้สามารถเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลชุดนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ดังนั้นการอ่านออกเสียงพระไตรปิฎกร่วมกัน หรือเรียกตามศัพท์ว่า “สังวัธยายพระไตรปิฎก” จึงเป็นการศึกษาและอนุรักษ์พระไตรปิฎกสากลให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

พิธีอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล ณ ลานคนเมือง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการนำพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกมาใช้ในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญเป็นการบำเพ็ญกุศลสร้างปัญญาบารมี เพราะการอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกทั้งภาษาบาฬีและภาคแปลภาษาไทย ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้โดยตรงของคำทรงสอนแห่งสันติสุขในพระไตรปิฎกที่สืบทอดมาร่วม 3,000 ปี แล้ว

พิธีอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการบำเพ็ญกุศลของชาวกรุงเทพมหานครเพื่อน้อมถวายแด่สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ชาวกรุงเทพมหานครและชาวไทยทั้งมวล ซึ่งเป็นการจัดงาน ณ ศูนย์กลางพระนครหลวงของประเทศ

ลานคนเมือง” เป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระอารามที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหลวงของชาติ ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร พร้อมทั้งเป็นที่ตั้งของเทวสถานเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สถาปนากรุงเทพเป็นราชธานี ได้แก่ โบสถ์พราหมณ์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของเสาชิงช้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร และในอดีตเป็นหัวใจของ “พิธีโล้เสาชิงช้า” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมคนเมืองกรุงเทพของไทยสมัยโบราณ

การที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับเชิญกรุงเทพมหานครเพื่อทรงบำเพ็ญกุศลอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากลร่วมกับชาวกรุงเทพมหานคร ณ สถานที่อันเป็นหัวใจแห่งพระนคร จึงเป็นพระกรณียกิจใหม่ที่สำคัญอีกวันหนึ่งในประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร อันเป็นการดำเนินตามรอยพระราชศรัทธาและพระปัญญาญาณในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อสืบสานคลังอารยธรรมทางปัญญาในพระไตรปิฎกสากล ด้วยการบำเพ็ญกุศลที่เรียบง่ายแต่พร้อมด้วยปัญญาและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะทำให้พระไตรปิฎกสากลเผยแผ่ไปอย่างแพร่หลายและกว้างขวางทั้งในระดับนานาชาติและในจิตใจของประชาชนชาวไทยทั้งหลายตลอดไป

รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม www.dhammasociety.org