Buddhavasse 2500
Monday, October 17, 2011
หนังสือสวดมนต์ จปร.ฉบับสากล อักษรสยาม 2554
ผลงานที่ได้จากการจาริกไปพม่า... คือการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เล่มพิเศษอีก 1 เล่ม โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ชื่อ "พระไตรปิฎกเบ่มประมวลเนื้อหา (Anthology)" เทียบระหว่าง ฉบับ ปาฬิภาสา-อักษรสยาม พ.ศ. 2436 กับ ปาฬิภาสา-อักษรพม่า พ.ศ. 2500 และ ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน พ.ศ. 2548.
The World Tipiṭaka Edition in various scripts will be printed by Dhamma Society, for the first time -- in parallel corpus for all to study and understand...
As you see, the parallel corpus brings a great deal more profound perspective of these sacred scripts -- an ingenious attempt to preserve the original sounds of Dhamma in various scripts to ensure the correctness.
ข้อมูลนี้จะทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเข้าใจเรื่องการสังคายนา และการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนาสากล ฉบับอักษรต่างๆ รวมฉบับสากล-อักษรโรมันชุดที่สมบูรณ์ 40 เล่ม
http://www.facebook.com/worldtipitaka
Friday, March 25, 2011
ภาพบรรยากาศการถวายพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ณ วัดป่าบ้านตาด
ภาพ เตรียมการอัญเชิญ พระไตรปิฎก จปร. ปาฬิภาสา-อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2554 ในวันมาฆบูชา 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
...เนื่องด้วยในปลายปี พ.ศ. 2553 คณะสงฆ์ผู้ที่คณะกรรมการ "มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ" ได้ปรารถถึงความสำคัญของอักษรโรมัน ในการเผยแผ่ธัมมะ โดยใช้พิมพ์กำกับเสียงสวดมนต์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ และทางวิทยุของสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน โครงการพระไตรปิฎกสากลและกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินงานเผยแผ่ข้อมูลพระไตรปิฎกอักษรโรมัน จึงได้มอบข้อมูลพระไตรปิฎกอิเล็คทรอนิกส์ดังกล่าว ถวายแก่คณะสงฆ์
ต่อ มาในปี พ.ศ. 2554 เมื่อได้มีการประชุมร่วมระหว่างคณะสงฆ์กับโครงการพระไตรปิฎกสากล และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ มากขึ้น มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนจึงได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระ ไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็น "ต้นฉบับ" ที่สำคัญในการจัดทำฐานข้อมูล "ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน" พ.ศ. 2548
ดัง นั้นเมื่อพระอาจารย์พระมหาบัวได้ละสังขารไปในปลายเดือนมกราคม 2554 โครงการพระไตรปิฎกสากล และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ จึงได้มีจิตศรัทธาอย่างแรงกล้าในการถวายพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2554 ซึ่งได้จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ เป็นชุดพิเศษ ชุด 40 เล่ม ชุดเดียวในประเทศไทยในปีนี้ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ ก็ได้ทำการอัญเชิญพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ไปประดิษฐาน ณ วัดป่าบ้านตาด ทั้งนี้เพื่อทางคณะสงฆ์และกรรมการมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ จะได้พิจารณานำข้อมูล และเนื้อหาไปเผยแผ่ต่อไป ตามเจตนารมย์ของพระอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ผู้ซึ่งปฏิบัติตามธัมมะตามพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด
และเนื่องด้วย พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม มีระบบอักขรวิธีการเขียนปาฬิภาสา ที่เป็นเลิศ คือมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ "ไม้ยามักการ" กำกับเสียงควบกล้ำที่ชัดเจน พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยามชุดนี้ จึงเป็นเอกสารที่สำคัญยิ่งที่จะใช้อ้างอิงในการสวดสังวัธยายของสงฆ์ ซึ่งเป็นเสียง "ปาฬิภาสา" ที่ทางวัดป่าอรัญญวาสีได้สืบทอดต่อมาอย่างเคร่งครัดตามพระไตรปิฎก และการออกเสียงที่ได้สวดในพระปาติโมกข์
นอกจากนั้นที่สำคัญ ยิ่งยวดอีกประการก็คือ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม เมื่อ พ.ศ. 2436 เป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิภาสา เป็นชุดๆ แรกในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้ากรุงสยาม ทรงโปรดให้เปลี่ยนวิธีการอนุรักษ์พระพุทธพจน์จากคัมภีร์ใบลานอักษรขอมโบราณ มาเป็นกระดาษที่ทันสมัย และยังได้ตีพิมพ์เป็น "อักษรสยาม" แทน "อักษรขอม" ซึ่งอักษรสยามก็คือ อักษรที่ใช้เขียนภาษาไทยที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้ดีด้วย
การ ดำเนินงานและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก จปร. เป็นช่วงที่สยามต้องเผชญกับวิกฤตการณ์ร้ายแรงจากลัทธิการล่าอาณานิคมของ ประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศส ซึ่งในปีรัตนโกสินทรศก ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย หมายจะยึดครองไทยเป็นเมืองขึ้น แต่แม้กระนั้น ไทยก็มีขันติธัมม์ และสามารถอดกลั้นต่ออกุสลทั้งปวง เพื่อเจรจารด้วยสันติวิธี และด้วยความชาญฉลาดของผู้นำกรุงสยาม สยามประเทศก็สามารถเจรจาสงบข้อพิพาทได้ และพระไตรปิฎก ฉบับ จปร. ก็จัดพิมพ์สำเร็จในปีนี้ด้วย อันเป็นมงคลของประเทศ ที่แม้มีปัญหารอบด้าน แต่สยามก็เป็นพระธัมมนคร สามารถจัดสร้างพระไตรปิฎกเป็นชุดตีพิมพ์เป็นชุดแรกของโลก เป็นพระธัมมทานไปทั่วสยาม และยังได้พระราชทานไปเป็นพระธัมมทาน แก่สถาบันสำคัญมในนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศฝรั่งเศส ด้วย
ด้วยเหตุสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ นี้ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม จึงเป็นสัญลักษณ์ --ภาพรวม-- ของสถาบันสำคัญสูงสุดของไทย คือ สถาบันพระพุทธศาสนา สถาบันชาติเอกราช และสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่พระอาจารย์พระมหาบัว แห่งวัดป่าบ้านตาด ได้เมตตาปลูกฝังให้ชาวไทยตระหนักและปกป้องจนถึงที่สุดเพื่อประโยชน์อัน ไพบูลย์ของลูกหลานไทยในภายหน้า จนเกิดมีโครงการผ้าป่าช่วยชาติที่ยิ่งใหญ่ ที่ชาวไทยทั้งหลายจะไม่มีวันลืมเลือน...
ขอหวังว่า การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล 2554 และการที่ได้อัญเชิญมาน้อมถวายบูชาพระพุทธ พระธัมม์ พระสงฆ์ เนื่องในงานบำเพ็ญกุสลพระอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน จะเป็นการบำเพ็ญบุญกิริยาตามแนวทางปฏิปทาของครูบาอาจารย์ฝ่ายอรัญญวาสี ผู้อนุรักษ์พระไตรปิฎก และปฏิบัติตามพระไตรปิฎก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน...
ข้อมูลเพื่มเติม
http://www.facebook.com/DhammaSociety WorldTipitaka
Thursday, October 21, 2010
Friday, October 15, 2010
Chulachomklao of Siam Tipiṭaka
Chulachomklao of Siam Tipiṭaka 1893 :
Digital Preservation Edition 2010
Friday, June 25, 2010
Amaro Bhikkhu Interview
Amaro Bhikkhu & the World Tipitaka Project 2010
A documentary archive for Tipitaka Studies, produced by Dhamma Society's the World Tipitaka Project 1999-present
A documentary archive for Tipitaka Studies, produced by Dhamma Society's the World Tipitaka Project 1999-present
Friday, June 4, 2010
Royal Institute & World Tipitaka in USA
Royal Institute & World Tipitaka in USA
A Presentation Video Archives to be premiere on June 9th 2010 for the Fellow Council of the Royal Institute in Bangkok.
จดหมายเหตุโครงการพระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
บันทึกกิจกรรมของราชบัณฑิตยและผู้เชี่ยวชาญจากราชบัณฑิตยสถาน ในพิธีมอบพระไตรปิฎกสากลเป็นพระธัมมทานแก่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากราชบัณฑิตยสถานได้มีส่วนให้คำปรึกษาแก่กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 อาทิ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (ภาษาไทย); อ.สิริ เพ็ชรไชย ปธ.9 (ภาษาปาฬิ); พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตตฺโต (บทนำเรื่องการสังคายนาสากลนานาชาติ); ศ. วิสุทธิ์ บุษยกุล (ภาษาอังกฤษ); ศ. เสถียรพงษ์ วรรณปก ปธ.9 (พุทธศาสนา); ศ.ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ(การแปลภาษาอังกฤษ); ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา(ประวัติศาสตร์); พล.ต. ม.ร.ว. ศุภวัฒน์ เกษฒศรี(ประวัติศาสตร์ ร.5); ศ. มณีวรรณ กมลพัฒนะ(สหสาขาวิชา); ศ.กิติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์(สัททอักษรสากล) ศ.ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต(วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยีการพิมพ์) ศ.เกียรติคุณ ดร. ปัญญา บริสุทธิ์(คำนำการพิมพ์ธัมมบท) เป็นต้น
วิดีทัศนี้เป็นส่วนหนึึ่งของจดหมายเหตุประไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ตามรอย พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่สถาบันสำคัญนานาชาติไม่น้อยกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
โครงการ พระไตรปิฎกสากล ดำเนินงานตรวจทาน และจัดพิมพ์เป็นพระธัมมทาน โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
วิดีทัศนี้เป็นส่วนหนึึ่งของจดหมายเหตุประไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ตามรอย พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่สถาบันสำคัญนานาชาติไม่น้อยกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
โครงการ พระไตรปิฎกสากล ดำเนินงานตรวจทาน และจัดพิมพ์เป็นพระธัมมทาน โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
Subscribe to:
Posts (Atom)